• ภาษาไทย
    • English

ชนาธิป ลีนิน's blog

♦ IED TRAINING COURSES CENTER | หลักสูตรฝึกอบรม : RUN SKILL





       
IED65001 IED65002 IED65003 IED65004
       
[รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน]
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายนวพล เทพนรินทร์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายนรงฤทธิ์ เสนาจิตร ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายเมธัส เทพไพฑูรย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายชนาธิป ลีนิน
nawaphol.t@rmutsv.ac.th narongrit.s@rmutsv.ac.th mathus.t@rmutsv.ac.th chanatip.l@rmutsv.ac.th
       
IED65005      
     
       
[รายละเอียด] | [ลงทะเบียน]      
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายนวพล เทพนรินทร์      
nawaphol.t@rmutsv.ac.th      
       
IED64001 IED64002 IED64003 IED64004
       
[รายละเอียด] | [ลงทะเบียน]
[รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน]
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : ผศ.ฤทัย ประทุมทอง ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : ผศ.กรภัทร เฉลิมวงศ์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายนรงฤทธิ์ เสนาจิตร ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : ผศ. ดร.วาสณา บุญส่ง
ruthai.p@rmutsv.ac.th korrapat.c@rmutsv.ac.th narongrit.s@rmutsv.ac.th wasana.b@rmutsv.ac.th
       
IED64005 IED64006 IED64007 IED64008
       
[รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน]
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : ผศ.กรภัทร เฉลิมวงศ์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายชนาธิป ลีนิน ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายฐาปนิค ตีระพันธ์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นางสาวอภิชญา ขวัญแก้ว
korrapat.c@rmutsv.ac.th chanatip.l@rmutsv.ac.th thapanic.t@rmutsv.ac.th apichaya.k@rmutsv.ac.th
       
IED64009 IED64010 IED64011 IED64012
       
[รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน] [รายละเอียด] | [ลงทะเบียน]
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : ผศ.จักรกฤษฎ์ แก้วประเสริฐ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นายปิติพงศ์ เกิดทิพย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นางสาวมณฑนรรห์ วัฒนกุล ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : นางสาวมณฑนรรห์ วัฒนกุล
jukkrit.k@rmutsv.ac.th pitipong.ki@rmutsv.ac.th monthanan.w@rmutsv.ac.th monthanan.w@rmutsv.ac.th

♦ สมัครเข้าศึกษา


คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2565

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ข้อความ



Free Icon | Studentสมัครเรียนได้ที่ >> https://admission.rmutsv.ac.th/ ไฟล์:LINE New App Icon (2020-12).png - วิกิพีเดีย LINE OpenChat >> https://bit.ly/3zvohEA

 


 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า "২ หลักสูตรสาขาวิซาไฟฟ้า วิชาเอกไฟฟ้ากำลัง ปวช. รับตรงวิสระ34 3.4 รับตรงอิสระ3 พ.ค. วันนี้-22พ.ค.65 65 วันนี้ ม.6 วันนี้ รอบที่ A 4 65 •สมัครได้ที่. https://admission.rmutsv.ac.th รับจำนวนจำกัด! เรียนจบเป็นได้หลายอาชีพ ครูอาซีวศึกษา นักวิเคราะห์ ออกแบบ และดูแลระบบ หรือประกอบธรุกิจอิสระ ทางด้านไฟฟ้า ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี RUTS"     อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ     อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า "หลักสูตรสาขาวิชา 快 อุตสาหการ อยากเป็นครูช่าง มาเลย ม.6 วันนี้ TCAS รอบที่ วันนี้-31พ.ค.65 รอบที่ 4 65 •สมัครได้ที่. https://admission.rmutsv.ac.th รับจำนวนจำกัด! เรียนจบเป็นได้หลายอาชีพ ครูอาชีวศึกษา นักวิชาการ ช่างปฏิบัติการ ทางด้านอุตสาหการการผลิต และการซ่อมบำรุง คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี RUTS"     อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ     อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความพูดว่า "หลักสูตรสาขาวิชา เทคโนโลยีปิโตรเลียม ปวช. รับตรงอิสระ รับตรงอิสระ วันนี้-22พ.ค.65 v 3.4 65 รอบที่ วันนี้- วันนี้-31พ.ค.65 วันนี้ TCAS ม.6 65 รับจำนวนจำกัด! •สมัครได้ที่. https://admission.rmutsv.ac.th เรียนจบเป็นได้หลายอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานด้านกระบวนการผลิต และการซ่อมบำรุง ทางด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี RUTS"     อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า "หลักสูตรสาขาวิชา วิศวกรรม แมคคาทรอนิกส์ ปวช. รับตรงอิสระ3.4 3.4 วันนี้-22พ.ค.65 วันนี้ วันนี้ TCAS ม.6 31 รอบที่ รอบที่ พ.ค. 65 ncOmർ •สมัครได้ที่. https://admission.rmutsv.ac.th รับจำนวนจำกัด! เรียนจบเป็นได้หลายอาชีพ ครูอาชีวศึกษา นักวิชาการ นักประดิษฐ์ ช่างปฏิบัติการ ทางด้านวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี RUTS"

 


 

 
 
 
 
 
 
 
คำสำคัญ : tags: 

♦ เกี่ยวกับศิษย์เก่า


ข้อมูลเกี่ยวกับศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

 

 

Graduation Printables and Encouraging Thoughts for the Grad! - inkhappi |  Graduation silhouette, Graduation printables, Graduation hat

คำสำคัญ : tags: 

♦ คุณภาพบัณฑิตและภาวะการมีงานทำ

Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF : H-Ed


♦ Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF : HEd

มคอ. ย่อมาจาก กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF : HEd เอกสาร มคอ. จึงเป็นแบบเอกสารจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และเป็นการประกันคุณภาพผู้เรียน ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ประกาศใช้เอกสาร มคอ. ที่มีหมายเลขกำกับตั้งแต่ มคอ.1 - มคอ. 7 ดังนี้ 


มคอ.1 มาตราฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา

มาตราฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา หมายถึง กรอบที่กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในแต่ละระดับการศึกษาสาขา/สาขาวิชาหนึ่งซึ่งจะกำหนดคุณลักษะของบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชา ปริญญา และองค์ความรู้ที่เป็นเนื้อหา เท่าที่จำเป็นจะต้องมีในหลักสูตรสาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒินั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในสาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒิเดียวกันจะมีผลการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าที่กำหนด ในขณะเดียวกันมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาวิชาจะเปิดกว้างและส่งเสริมให้สถาบันต่างๆ มีโอกาสบรรจุเนื้อหาวิชาในส่วนที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ได้อย่างอิสระ เหมาะสม และตรงกับความต้องการหรือเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบัน ซึ่งจะทำให้สถาบันต่างๆ สามารถพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย แต่มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรในสาขา/สาขาวิชา และระดับคุณวุฒิเดียวกันที่เทียบเคียงกันได้ นอกจากนี้ มาตราฐานคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชายังได้กำหนดเงื่อนไข ข้อแนะนำในการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สถาบันอุดมศึกษาต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้หลักประกันว่าหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสามารถบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มคอ.1 เป็นแบบที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดให้คณะผู้เชี่ยวชาญใช้ในการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ ให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ


มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร  (Programme Specification)

คำอธิบายภาพรวมของการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้บัณฑิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นๆ โดยจะถ่ายทอดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิตที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาไปสู่การปฏิบัติในหลักสูตร ซึ่งแต่ละสถาบันอุดมศึกษาสามารถบรรจุเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ได้อย่างอิสระ เหมาะสมตรงกับความต้องการหรือเอกลักษณ์ของสถาบันฯ โดยคณาจารย์ผู้สอนจะต้องร่วมมือกันวางแผนและจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร

รายละเอียดของหลักสูตรจะช่วยอธิบายให้นักศึกษาทราบว่าตนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง เข้าใจถึงวิธีการสอน วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผลที่จะทำให้มั่นใจว่าเมื่อเรียนสำเร็จแล้วจะบรรลุมาตรฐานผลการเรียรรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งยังแสดงความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับองค์ประกอบในการเรียนเพื่อนำไปสู่คุณวุฒิตามที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิ รายละเอียดของหลักสูตร จะช่วยให้นักศึกษาเลือกเรียนในหลักสูตรที่เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตนเองได้ รวมทั้งผู้ใช้บัณฑิตสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับบัณฑิตเข้าทำงานทุกหลักสูตรมีรายละเอียดประกอบด้วย 8 หมวด คือ

(1) ข้อมูลทั่วไป
(2) ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
(3) ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
(4) ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
(5) หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา
(6) การพัฒนาคณาจารย์
(7) การประกันคุณภาพหลักสูตร และ
(8)การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร


มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification)

ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการของแต่ละรายวิชา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งแต่ละรายวิชาจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา แนวทางการปลูกฝังทักษะต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดหมายของรายวิชา มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน วิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชา ตลอดจนหนังสือหรือสื่อทางวิชาการอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังกำหนดยุทธศาสตร์ในการประเมินรายวิชาและกระบวนการปรับปรุง ทุกรายวิชามีรายละเอียดประกอบด้วย 7 หมวด คือ

(1) ข้อมูลทั่วไป
(2) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
(3) ลักษณะและการดำเนินการ
(4) การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
(5) แผนการสอนและการประเมินผล
(6) ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน และ
(7) การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา 


มคอ.4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification)

ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือสหกิจศึกษา ซึ่งจะต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายอะเอียดของหลักสูตร โดยจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการดำเนินการของกิจกรรมนั้นๆ ตลอดจนความรู้ ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึก มีการกำหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายรวมทั้งเกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา และการประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ข้อมูลใน มคอ.4 ประกอบด้วย 7 หมวด คือ

(1) ข้อมูลทั่วไป
(2) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
(3) การพัฒนาผลการเรียนรู้
(4) ลักษณะและการดำเนินการ
(5) การวางแผนและการเตรียมการ
(6) การประเมินนักศึกษา และ
(7) การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม 


มคอ.5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

รายงานผลการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียน เกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในวิชานั้นๆว่า ได้ดำเนินการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของรายวิชาหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงผลการเรียนของนักศึกษา จำนวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา/หัวหน้าภาค/หรือผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต การวางแผนและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้ประสานงานหลักสูตรเพื่อปรับปรุ่งและพัฒนารายวิชา ข้อมูลประกอบด้วย 6 หมวด คือ

(1) ข้อมูลทั่วไป
(2) การจัดการเรียนการสอนเปรียบเทียบกับแผนการสอน
(3) สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา
(4) ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ
(5) การประเมินรายวิชา และ
(6)แผนการปรับปรุง 


มคอ.6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report)

รายงานผลการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษา ว่าได้บรรลุผลการเรียนตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนามหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามแผน ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษาในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงการฝึกประสบการณ์ภาคสนามตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุด ปัญหาด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมิน การฝึกของนักศึกษา/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/พนักงานพี่เลี้ยง ข้อมูลประกอบด้วย 6 หมวด คือ

(1) ข้อมูลทั่วไป
(2) การดำเนินการที่ต่างไปจากแผนการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
(3) ผลการดำเนินการ
(4) ปัญหาและผลกระทบด้านการบริหาร
(5) การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และ
(6) แผนการปรับปรุง


มคอ.7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)

การรายงานผลประจำปีโดยผู้ประสานงานหลักสูตรหรือผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกี่ยวกับผลการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น ข้อมูลทางสถิติของนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถาบันที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร สรุปภาพรวมของรายงานผลของรายวิชาในหลักสูตร ประสิทธิภาพของการสอนในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน การเทียบเคียงผลการดำเนินการกับมาตรฐานอื่นๆที่มี สรุปผลการประเมินหลักสูตรจากความเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ตลอดจนข้อเสนอในการวางแผนและการพัฒนา รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การรายงานผลดังกล่าวจะส่งไปยังหัวหน้าภาควิชา/คณบดี และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาด้วยตนเองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะๆ และเป็นข้อมูลในการรับรองหลักสูตรจากผู้ประเมินภายนอกได้ด้วย รายงานประกอบด้วย 9 หมวด คือ

(1) ข้อมูลทั่วไป
(2) ข้อมูลเชิงสถิติ
(3) การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร
(4) ข้อมูลสรุปรายวิชาของหลักสูตร
(5) การบริหารหลักสูตร
(6) สรุปการประเมินหลักสูตร
(7) คุณภาพของการสอน
(8) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมินอิสระ และ
(9) แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร

Quality Assurance


♦ การประกันคุณภาพการศึกษา

  • หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้โดยมี
    (1) การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
    (2) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และ
    (3) การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา 

♦ กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

  • เป็นกระบวนการวางแผนและกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษา ที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตรและตรงตามความมุ่งหวังของสังคม เนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องใหสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาจัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่างๆได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคลตอบสนองต่อความต้องการความสนใจและความถนัดที่แตกต่างกันและที่สำคัญคือทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาใดจะมีความมั่นใจได้ว่าสถาบันการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงเท่าเทียมกันไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นหรือฝากลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง 

♦ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

  • เป็นระบบที่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาให้ทัดเทียมกัน ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงยอมไม่ได้ ถ้าลูกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ในระดับต่างๆ ดังนั้น ผู้ที่รับประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา กรมเจ้าสังกัด และกระทรวงต้องมีการรับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกันการประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งได้ดังนี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Internal Quality Assurance) และ การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก  (External Quality Assurance)

♦ นิยามและความหมายการประกันคุณภาพการศึกษา

  • คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัด การศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและ ภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน
  • การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการ ควบคุม ตรวจสอบ และประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนดเพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนได้มั่นใจว่าสถาบันนั้นๆ สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
  • การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การทำกิจกรรม หรือ การปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (QUALITY CONTROL) การตรวจสอบคุณภาพ (QUALITY AUDITING) และการประเมิน คุณภาพ (QUALITTY ASSESSMENT) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนี ชี้วัด ระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ ของการจัดการศึกษา ประกอบด้วยการ ประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
  • การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
  • การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฏเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็น กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
  • การควบคุมคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบ คุณภาพเพื่อกำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมี ระบบ และกลไกควบคุมคุณภาพ และได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบ และกลไก ดังกล่าว
  • การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการ ดำเนินงานของสถาบันว่า ส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้
  • องค์ประกอบคุณภาพ หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลต่อ คุณภาพ การศึกษา
  • ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเป็นไป ตามเกณฑ์ และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
  • ผลผลิตทางการศึกษา หมายถึง ผลการดำเนินตามภารกิจหลัก ประกอบด้วย การผลิต บัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภารกิจหลักอื่นๆของ สถาบันอุดมศึกษา
  • มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
  • ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทรัพยากรที่ใช้ไปกับปริมาณผลผลิต ที่เกิดจากกระบวนการ กล่าวคือ ประสิทธิภาพแสดงถึงความสามารถในการผลิต และความคุ้มค่า ของการลงทุน
  • ประสิทธิผล หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของการทำงานกับเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ประสิทธิผลจะแสดงถึงความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และทันเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิต
  • การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอกของผู้ ประเมินภายนอกที่มีคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่ สำนักงานกำหนด
คำสำคัญ : tags: 

♦ ปูชนียาจารย์


 

 

   
  นายสุรพล สุภารัตน์
อาจารย์
นายวีระยุทธ จันทรักษา
อาจารย์
นางสิริพร เลิศวิทยาวิวัฒน์
พนักงานพิมพ์
 
  เกษียณอายุราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 เกษียณอายุราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 เกษียณอายุราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563  
         
       
  นายสุจริต สิงหพันธุ์
อาจารย์
     
  เกษียณอายุราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564      

 

คำสำคัญ : tags: