วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย โดยชุดโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา” จัดมหกรรมพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา ภายใต้แผนงานวิจัย“การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา” ณ โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท โดยมี ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย เป็นประธานเปิดกิจกรรม และปาฐกถา “นวัตกรรมการศึกษาสู่การยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ชุดโครงการวิจัยภายใต้แผนงานสำคัญ (Flagship) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้งานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่วางไว้ ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา”โดยมี ผศ.ทรงนคร การนา เป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัย การบริหารจัดการงานวิจัย
การวางแผนการดำเนินโครงการวิจัยของชุดโครงการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อยจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ การสร้างกลไกความร่วมมือและการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา และการพัฒนาขีดความสามารถการจัดการเรียนรู้และการวัดผลสัมฤทธิ์โดยใช้แพลตฟอร์มทางการศึกษาด้วยกระบวนการสอนแบบ STEAM ที่บูรณาการด้วยการสอนแบบ Project Base Learning ภายใต้กรอบการดำเนินกิจกรรมของชุดโครงการวิจัยที่ประกอบด้วย การประสานเครือข่ายความร่วมมือกับจตุรภาคี สร้างการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดสงขลา การกำหนดกรอบแนวทางการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์สู่การสะสมหน่วยการเรียนรู้จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปยังสถานศึกษาอาชีวศึกษา การสร้างกรอบแนวทางการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์สู่การสะสมหน่วยการเรียนรู้จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยัง สถานศึกษาอาชีวศึกษา และการประเมินผลและถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์สู่การสะสมหน่วยการเรียนรู้จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยัง สถานศึกษาอาชีวศึกษา
สำหรับกิจกรรมภายในงานมีการจัดบูธนิทรรศการทักษะอาชีพ การนำเสนอผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่เป็นเลิศ (Best Practice) พร้อมทั้งเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานจากผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการวิจัยในประเด็น ดังต่อไปนี้ กลไกความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ คุณลักษณะพื้นฐานและความสุขจากฝึกทักษะอาชีพ นอกจากนี้ยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานจากผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการวิจัย เพื่อนำผลที่ได้จากการถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และนำไปขยายผลต่อไป